วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มันแกวกับฝรั่ง

มันแกว



มันแกว (Jícama) เป็นพืชตระกูลถั่ว มีชื่อทวินามว่า "Pachyrhizus erosus (L.) Urbar" ลักษณะต้นเป็นเถาเลื้อย หัวอวบใหญ่ โคนตันเนื้อแข็ง ใบประกอบด้วย 3 ใบย่อยมีจักใหญ่ ดอกมีสีขาวหรือชมพูเป็นช่อ เมล็ดมีสีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีแดงลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัสแบน โดยต้นมันแกว 1 ต้นมีเพียงหัวเดียว ส่วนที่ใช้รับประทานคือส่วนของรากแก้ว


มันแกวเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในหลายพื้นที่เช่นในแถบอเมริกากลาง แอฟริกาตะวันออก และในประเทศแถบทวีปเอเชียคือ ฟิลิปปนส์ อินเดีย จีน อินโดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ในประเทศไทยมันแถวมีอยู่ 2 ชนิดคือ พันธุ์หัวใหญ่ และพันธุ์หัวเล็ก อาจจะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาคได้แก่ ภาคใต้เรียกว่า "หัวแปะกัวะ" ภาคเหนือเรียกว่า "มันละแวก" "มันลาว" ส่วนภาคอีสานเรียกว่า "มันเพา" นอกจากนี้ยังอาจเรียกด้วยชื่ออื่นๆ เช่น "เครือเขาขน" "ถั้วบ้ง" และ"ถั่วกินหัว"

ส่วนหัวของมันแกว (รากแก้ว) เป็นส่วนที่ใช้รับประทาน ลักษณะภายนอกมีสีน้ำตาลอ่อนภายในมีสีขาว เมื่อเคี้ยว รู้สึกกรอบคล้ายลูกสาลี่สด อีกทั้งยังมีรสคล้ายแป้งแต่ออกหวาน โดยทั่วไปจะรับประทานสดๆ หรือจิ้มกับพริกเกลือ แล้วยังสามารถนำไปประกอบอาหารได้ทั้งคาวและหวานอีกด้วย เช่น แกงส้ม แกงป่า ผัดเปรี้ยวหวาน ผัดไข่ เป็นส่วนผสมของไส้ซาลาเปา และทับทิบกรอบ

แต่ในทางกลับกัน ต้นมันแกวสามารถใช้เป็นยากำจัดศัตรูพืช โดยใช้ส่วนของเมล็ด ฝักแก่ ลำต้น และราก แต่ส่วนเมล็ดจะมีสารพิษมากที่สุด ทำให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงดีที่สุด นอกจากนั้นถ้ามนุษย์รับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณมาก สารพิษ Routinone จะกระตุ้นระบบหายใจ แล้วกดการหายใจ ชัก และอาจเสียชีวิตได้

คุณค่าทางอาหารของมันแกวนั้นประกอบด้วยน้ำ 90.5% โปรตีน 0.9% คาร์โบไฮเดรต 7.6% ไม่มีเส้นใยอาหาร โดยรสหวานนั้นมาจาก oligofructose inulin ซึ่งในร่างกายของมนุษย์ ไม่สามารถเผาผลาญได้ ดังนั้นมันแกวจึงเหมาะสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ควบคุมน้ำหนัก

มันแกวควรเก็บในที่แห้ง อุณหภูมิระหว่าง 12 - 16 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะทำให้ส่วนรากช้ำได้ ถ้าเก็บรักษาถูกวิธีสามารถอยู่ได้นานถึง 1-2 เดือน

ฝรั่ง



ฝรั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psidium guajava Linn.) เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ Myrtaceae ต้นเกลี้ยงมัน กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ยอดอ่อนมีขนสั้นๆ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปใบรี ปลายใบค่อนข้างมน ดอกเป็นช่อ สีขาว ผลดิบสีเขียว กินได้ เมื่อสุกเป็นสีเหลือง

คำว่าฝรั่งในภาษาอังกฤษคือ Guava ซึ่งมาจากภาษาสเปน คำว่า Guayaba และ ภาษาโปรตุเกส คำว่า Goiaba ฝรั่งมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ จุ่มโป่ (สุราษฎร์ธานี) ชมพู่ (ปัตตานี) มะก้วย (เชียงใหม่,เหนือ) มะก้วยกา (เหนือ) มะกา (กลาง,แม่ฮ่องสอน) มะจีน (ตาก) มะมั่น (เหนือ) ยะมูบุเตบันยา (มลายู นราธิวาส) ยะริง (ละว้า เชียงใหม่) ยามุ (ใต้) ย่าหมู (ใต้) และ สีดา (นครพนม,นราธิวาส)

ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์

ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร เปลือกต้นเรียบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอก เดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสด

ด้าน สมุนไพร

  • น้ำต้มใบฝรั่งสด มีฤทธิ์ทางด้านป้องกันลำไส้อักเสบ ท้องเสีย ใช้ทาแก้ผื่นคัน พุพองได้
  • น้ำต้มผลฝรั่งตากแห้ง มีฤทธิ์แก้คออักเสบ เสียงแห้ง

    พันธุ์ต่างๆ

  • ฝรั่งเวียดนาม - ลูกใหญ่กว่าฝรั่งพื้นบ้าน ถึง 2 - 3 เท่า ถูกนำเข้าจากเวียดนามมาปลูกที่สามพรานเมื่อ พ.ศ. 2521– 2523
  • ฝรั่งกิมจู - เป็นฝรั่งไร้เมล็ด สีนวลสวย รสหวานกลมกล่อม กรอบ
  • ฝรั่งกลมสาลี่- เป็นพันธ์แรกๆที่นิยมปลูกกันมาก ต่อมามีพันธ์แป้นสีทองเข้ามา จึงปลูกน้อยลงเรื่อยๆ
  • ฝรั่งแป้นสีทอง- ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย ผลเมื่อโตเต็มที่จะขาว ฟู กรอบ เริ่มแรกปลูกที่สามพราน ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่ว
  • ฝรั่งไร้เมล็ด - ลักษณะลูกยาวๆ ไม่มีเมล็ด รสชาติด้อยกว่าฝรั่งแป้นสีทอง และกิมจู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น