วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

มารยาทบนโต๊ะิอาหารจากทั่วโลก

เด็กดีดอทคอม :: รู้ไว้ใช่ว่า ... มารยาทบนโต๊ะอาหารจากทั่วโลก


ญี่ปุ่น จีน เกาหลี การทานอาหารเสียงดังถือเป็นเรื่องปกติมาก เพราะแสดงถึงความเอร็ดอร่อยในการทานอาหารนั่นเอง รวมถึงมารยาทการดื่มของญี่ปุ่นนั้น ควรรินเครื่องดื่มให้แก่อีกฝ่ายและรอให้อีกฝ่ายรินเครื่องดื่มให้แก่เรา เพราะการรินเครื่องดื่มใส่แก้วตัวเองเหมือนเป็นการยอมรับว่าตัวเองเป็นพวกขี้เมา

รัสเซีย เวลาทานข้าวบนโต๊ะอาหาร ให้วางข้อมือไว้บนโต๊ะตลอดเวลา มือซ้ายถือส้อม และมือขวาถือมีด

เนปาล เมื่อนั่งบนโต๊ะอาหารแล้ว ไม่ควรลุกไปไหนจนกว่าอาหารจะถูกนำมาเสิร์ฟบนโต๊ะ และไม่ควรลุกจากโต๊ะก่อนที่ทุกๆ คนจะทานอาหารเสร็จ ไม่งั้นจะถือว่าเสียมารยาทเป็นอย่างมาก หากจำเป็นต้องลุกไป ควรพูดกับคนอื่นๆ บนโต๊ะอาหารว่า bistaii khaanus หรือ please eat slowly

เอธิโอเปีย การทานโดยใช้จานของตนเองถือเป็นเรื่องประหลาดและสิ้นเปลืองมาก ดังนั้นอาหารมักจะถูกใส่มาในจานเดียวกันและแบ่งกันทานเอาเอง (โดยที่ไม่มีอะไรตัดแบ่ง - -") รวมถึงถ้าในอาหารนั้นมีเนื้อสัตว์ ก็ควรทานเนื้อสัตว์เป็นอย่างสุดท้าย

เด็กดีดอทคอม :: รู้ไว้ใช่ว่า ... มารยาทบนโต๊ะอาหารจากทั่วโลก

ฝรั่งเศส ไม่ควรคุยเรื่องเงินบนโต๊ะอาหาร รวมถึงการขอแยกบิลจ่ายถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมซักเท่าไรนัก

เม็กซิโก ระหว่างที่ทานอาหารแล้วเกิดบังเอิญไปสบตาของคนที่กำลังทานอาหารเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นคนรู้จักหรือไม่รู้จัก ควรเอ่ยปากกับคนๆ นั้นว่า provecho หรือ enjoy ถือเป็นมารยาทที่สำคัญมากเพราะจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกดีมากๆ เลยทีเดียว

เด็กดีดอทคอม :: รู้ไว้ใช่ว่า ... มารยาทบนโต๊ะอาหารจากทั่วโลก

อาร์เมเนีย ระหว่างที่กำลังดื่มกัน หากเรารินเครื่องดื่มใส่แก้วให้ใครซักคนจนหมดขวด นั่นเป็นการบอกคนๆ นั้นทางอ้อมว่า เค้าต้องเป็นคนซื้อเครื่องดื่มขวดใหม่ ดังนั้นจึงเป็นการสุภาพหากรินเครื่องดื่มใส่แก้วตัวเองเป็นแก้วสุดท้าย (และไปซื้อใหม่เองด้วย เหอๆ)

โปรตุเกส บนโต๊ะอาหาร ไม่ควรขอเกลือและพริกไทยเพิ่มเด็ดขาด เพราะถือเป็นการดูถูกฝีมือการทำอาหารของพ่อครัวหรือแม่ครัวอย่างมาก

เด็กดีดอทคอม :: รู้ไว้ใช่ว่า ... มารยาทบนโต๊ะอาหารจากทั่วโลก




วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

ขอนำเสนอ 10 อันดับบริษัทยอดนิยมที่คนอยากทำงานด้วยมากที่สุด
สำรวจโดยนิตยสาร POSITIONING มาดูกันดีกว่าว่ามีบริษัทอะไรติดอันดับกันบ้าง

1. ปตท.และ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
เกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้นของบริษัท ผู้สมัครที่จบปริญญาตรีสาขาอื่นๆ นอกจากวิศวกรรมศาสตร์ จะต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษ TOEIC หรือ TOEFL (ปตท. จะเทียบเป็น TOEIC ให้) 550 คะแนนขึ้นไป (อายุไม่เกิน 2 ปี) และมีเกรดเฉลี่ยสะสมจาก
สถาบันของรัฐ 2.70 ขึ้นไป
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 2.70 ขึ้นไป
สถาบันเอกชน 3.00 ขึ้นไป
ผู้สมัครระดับปริญญาโทหรือเอกก็ต้องมีผลคะแนนในระดับก่อนนั้นเข้าเกณฑ์ข้างต้นด้วย
ผู้สมัครที่ผ่านเกณฑ์นี้จึงจะมีสิทธิถูกเรียกสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ต่อไป

2. ปูนซิเมนต์ไทย
ผลตอบแทน อัตราเงินเดือน ปริญญาตรีจบใหม่ เริ่มต้น 19,000-22,000 บาท หากจบสายวิศวฯ เพิ่มอีก 3,000 บาท ปริญญาโท 22,000-25,000 บาท หากจบด้านวิศวฯ ได้เพิ่มอีก 5,000 บาท การขึ้นเงินเดือน *เฉลี่ยปีละ 6% โบนัส * ค่าเฉลี่ยโบนัสปี 2549 ประมาณ 4-6 เดือน

3. การบินไทย
สวัสดิการ :
การบินไทยมีผลตอบแทนรวมแก่บุคลากรกว่า 25,000 คน (เงินเดือน ค่าครองชีพ เงินรางวัลประจำปี เบี้ยเลี้ยงเดินทาง เงินค่าล่วงเวลา ค่าใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ) เฉลี่ยปีละกว่า 30,000 ล้านบาท
ศูนย์สวัสดิการฟิตเนส สระว่ายน้ำ
ขอตั๋วฟรีแบบสำรองที่นั่งไม่ได้ให้แก่ตัวเอง คู่สมรสและบุตรได้ โดยสามารถขอตั๋วในประเทศ และต่างประเทศอย่างละ 1 เที่ยว (ไป-กลับ)
ซื้อตั๋วแบบสำรองที่นั่งไม่ได้ในราคาถูก 10% ของราคาตั๋วปกติ แก่ตัวเอง คู่สมรสและบุตรได้ และหากอายุการทำงานเกิน 15 ปี
จะสามารถขอตั๋วฟรีประเภทสำรองที่นั่งได้อีก 1 เที่ยว
พนักงานที่ทำงานครบ 1 ปีขอตั๋วฟรีได้ทุกเส้นทางที่บริษัททำการบิน โบนัส : 3-4 เดือนต่อปี

4. เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมน
เกณฑ์การคัดเลือกพนักงาน ปัจจุบันบริษัทเวิร์คพอยท์รับบุคลากรใหม่จำนวนมากเเพื่อรองรับกับสถานที่ทำงานแห่งใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มงานผลิตรายการ ทั้งครีเอทีพ คอมพิวเตอร์กราฟิก ฝ่ายศิลป์ ฝ่าย Costume ประสานรายการ ขณะที่ฝ่ายบริหารจัดการ มีรับหลายอัตราเช่นกัน เช่น Web Designer พนักงานขายโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น แต่มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ตำแหน่งที่รับสมัคร เวิร์คพอยท์มักจะเลือกคนทำงานที่มีประสบการณ์ ในระดับที่เชี่ยวชาญพอตัวในแต่ละด้าน มักจะไม่ค่อยรับคนจบใหม่ หากอยากเข้าที่นี่จริงๆ ควรจะเข้าไปสมัครด้วยตัวเอง จะมีโอกาสในการเรียกสัมภาษณ์มากกว่า

5. โตโยต้า (ประเทศไทย)
เงินเดือน ผลตอบแทนจะขึ้นอยู่ตามแผนกหรือสายงาน โดยเงินเดือนผู้จบปริญญาตรีด้านวิศวกรรม เริ่มต้นที่ 14,000-15,000 บาท ส่วนแผนกอื่นจะเริ่มต้นที่อยู่จะ 8,000-10,000 บาท การขึ้นเงินเดือนจะขึ้นอยู่ตามผลงาน โบนัส นับเป็นองค์กรที่จ่ายโบนัสสูงมาก ค่าเฉลี่ยแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 6-8 เดือน ตามผลประกอบการธุรกิจในแต่ละปี ยิ่งพนักงานประจำคนใดทำงานเกินสองปีขึ้นไป เรียกว่า นอกเงินเดือนที่ได้รับประจำแล้ว ค่าโอที หรือล่วงเวลา ยังได้โบนัสที่จะแบ่งจ่าย 2 งวด ครึ่งปี สวัสดิการ โตโยต้า ถือเป็นองค์หนึ่งที่มีความโดดเด่นด้านสวัสดิการอย่างยิ่ง โดยพนักงานโตโยต้าสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ 100% มีประกันชีวิตกลุ่ม เงินบำเหน็จ เครื่องแบบพนักงาน รถรับ-ส่งปรับอากาศบริการพนักงาน เงินกู้ซื้อบ้านและเงินกู้ฉุกเฉิน ส่วนลดพิเศษในการซื้อรถยนต์โตโยต้า อะไหล่ และบริการ ทุนการศึกษาบุตร เงินสนับสนุนการศึกษานอกเวลาทำงาน ฯลฯ

6. ไมโครซอฟต์ (ประเทศไทย)
สวัสดิการ การมอบเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานให้แก่พนักงานทุกคน เป็นข้อกำหนดที่ไมโครซอฟท์มีอย่างชัดเจน เช่น การแจกคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กแก่พนักงานทุกคน เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ในคอนเซ็ปต์ Work Anywhere Anytime อย่างเช่น เมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ผู้บริหารไมโครซอฟท์ในไทยก็ได้ส่งอีเมลถึงพนักงานทุกคน แจ้งว่าไม่ต้องเข้าทำงานที่ออฟฟิศ ให้ทำงานที่บ้านได้

7. ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย)
เกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้น ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เปิดรับทั้งผู้มีประสบการณ์ และนักศึกษาจบใหม่ โดยไม่มีเกณฑ์เกรดเฉลี่ยขั้นต่ำ กำหนดไว้แน่นอน แต่พิจารณาจากเกรดเฉลี่ยของผลการเรียนแต่เพียงเพื่อจะรู้ว่าผู้สมัครคนนั้นๆ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การเรียนเพียงใดเท่านั้น ขั้นต่อมาคือการสอบข้อเขียนความถนัด Attitude Test แบบเดียวกับองค์กรอื่นทั่วๆ ไป ผ่านแล้วจึงสอบสัมภาษณ์กับหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งก็แตกต่างกันไปในแต่ละสายงาน และสำหรับนักศึกษาจบใหม่นั้น IBM จัดเป็นแคมเปญพิเศษ “Team Blue” ทุกปี โดยจะรับเฉพาะเด็กจบใหม่จริงๆ ปีละราว 10 กว่าคน กระจายทั้งด้านไอที บัญชี การตลาด ฯลฯ มาตั้งเป็นทีมที่จะต้องเข้าคอร์สฝึกอบรมด้วยกันยาว 3 เดือน จากนั้นจึงแยกย้ายไปฝึกอบรมแต่ละสายงาน แล้วบรรจุเป็นพนักงานในระบบต่อไป

8. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
เป็นบริษัทด้านธุรกิจบันเทิง ที่กลายเป็นองค์กรที่เข้ามาติดโผความนิยมอย่างน่าสนใจ ด้วยเพราะภาพลักษณ์ของธุรกิจบันเทิงที่ยังถูกมองว่า ทำงานน่าสนุก ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ ผ่านตัวศิลปินคนดัง ทำให้หลายคนเชื่อว่า องค์กรทั้งสองแห่งนี้ น่าตอบสนองความต้องการงานบันเทิง จะเป็นสถานที่ทำงานที่ดีที่สุด

9. แลนด์แอนด์เฮ้าส์
เกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้น ทุกตำแหน่งยินดีพิจารณาทั้งผู้มีประสบการณ์และบัณฑิตจบใหม่ โดยต้องจบตรงสายงาน เช่น สถาปัตย์ ภูมิสถาปปัตย์ ตกแต่งภายใน วิศวฯ โยธา บัญชี การตลาด เกรดเฉลี่ย 2.5 ขึ้นไปไม่ว่าสถาบันไหน และหากมีคะแนนภาษาอังกฤษ TOEFL 500 ขึ้นไป หรือ TOEIC 600 ขึ้นไปก็จะพิจารณาเป็นพิเศษ เมื่อได้ Short List ใบสมัครที่เข้าข่ายข้างต้นมาแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสอบบุคลิกภาพ และต่อด้วยการสอบ Attitude Test ที่ต่างกันไปในแต่ละตำแหน่ง เช่นฝ่ายขายต้องสอบเรื่อง Service Mind ตามด้วยการสอบข้อเขียนเฉพาะตำแหน่งงาน สุดท้ายเป็นการสัมภาษณ์ 2 รอบ รอบแรกกับกรรมการจากต้นสังกัดแผนกนั้นๆ 2 คน และจากฝ่ายพัฒนาบุคคล 1 คน หากผ่านแล้วก็ถือว่าได้ทำงานแล้วค่อนข้างแน่นอน แล้วจึงไปรอบสอง กับกรรมการระดับบอร์ดบริษัทเป็นขั้นสุดท้าย

10. LEO BURNETT
เกณฑ์การคัดเลือกพนักงาน : นอกจากความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์แล้ว บุคลิกภาพ การมีทัศนคติที่ดี เข้ากับวัฒนธรรมของบริษัทฯ ได้ ก็เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาด้วย เงินเดือน : โดยเฉลี่ยสำหรับเด็กจบใหม่ในตำแหน่งครีเอทีฟ และก๊อบปี้ไรเตอร์ จะสูงกว่าอัตราเริ่มต้นในท้องตลาด สวัสดิการ : มี Provident Fund ประกันสังคม ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ค่าทำฟัน เป็นต้น โบนัส : ตามผลประกอบการของบริษัทฯ ชั่วโมงการทำงาน : จันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-18.00 น. ลากิจ ลาป่วย ตามกฎหมายแรงงาน และลาหยุดพักผ่อนประจำปี 10-15 วัน ตำแหน่งฮอต : ฝ่ายบริหารงานลูกค้า (Account Executive) ฝ่ายสร้างสรรค์งานโฆษณา (Creative) กราฟิกดีไซน์ Training Program : มีแผนงานฝึกอบรมตลอดทั้งปีโดยวิทยากรที่มีความรู้เฉพาะด้าน อีกทั้งมีการส่งไป Traning Couse ที่เหมาะสมภายนอกองค์กรด้วย

ขอขอบคุณที่มา FW

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประวัติกำแพงเบอร์ลิน กำเเพงแห่งสงครามเย็น


กำแพงเบอร์ลิน (เยอรมัน: Berliner Mauer) เป็นกำแพงที่สร้างขึ้นช่วงหลังเยอรมันพ่ายสงครามโลกครั้งที่สอง และถูกแบ่งเป็นสองประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นพรมแดนเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมันตะวันตก ออกจากเยอรมนีตะวันออกที่โอบล้อมอยู่โดยรอบ

มีความยาวทั้งสิ้น 155 กิโลเมตร เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และได้ทำหน้าที่ในการปิดกั้นพรมแดนนี้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนจะทลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532


ในเยอรมันตะวันออก กำแพงเบอร์ลิน คือ แนวเขตแดนที่มั่นคง และสัญลักษณ์ของการต่อต้านทุนนิยม

แต่สำหรับโลกเสรีแล้ว มันคือ สัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างระบบทุนนิยมของยุโรปตะวันตก ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา กับระบบคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต หรือที่เรียกกันว่าสงครามเย็น นั่นเอง กำแพงเบอร์ลิน ทำให้กรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก กลายเป็นเสมือน หน้าต่างสู่เสรีภาพ


นับตั้งแต่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน การข้ามผ่านแดนจากเยอรมันตะว้นออก ไปยังเยอรมันตะวันตก กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืนและถูกพบเห็น มีโทษสถานเดียว คือ การยิงทิ้ง ณ บริเวณกำแพงนั่นเอง ตลอดระยะเวลา 28 ปี


กำแพงเบอร์ลิน ถูกใช้งานเป็นเวลา 28 ปี ในช่วงเวลานี้ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบของกำแพงถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้งจะเพิ่มความแข็งแรง และความสูงของกำแพงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันการหลบหนีของชาวเยอรมันตะวันออก เนื่องจากกำแพงกันระหว่างเยอรมันตะวันออก และเยอรมันตะวันตก มีจุดเปราะบางที่สุดที่กรุงเบอร์ลินนี่เอง กำแพงเบอร์ลินทั้ง 4 รุ่นมีพัฒนาการดังนี้

กำแพงรุ่นที่ 1 เริ่มสร้างเมื่อวันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นแนวรั้วลวดหนาม เป็นการสร้างชั่วคราวเพื่อป้องกันการอพยพของประชาชน เป็นกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่มีอายุใช้งานสั้นที่สุด

กำแพงรุ่นที่ 2 เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ถูกสร้างขึ้นแทนกำแพงรั้วลวดหนามทันทีที่กำแพงรั้วลวดหนามเสร็จสมบูรณ์ แต่กำแพงก่ออิฐถือปูนนี้ก็ไม่แข็งแรงพอที่ปิดกั้นความปรารถนาในการแสวงหาเสรีภาพของประชาชน มีความพยายามในการหลบหนีด้วยการทำลายกำแพงเกิดขึ้นหลายครั้ง

กำแพงรุ่นที่ 3 เป็นรั้วคอนกรีตสำเร็จรูป ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และความสูงเพิ่มขึ้น

กำแพงรุ่นที่ 4 ถูกสร้างในปี ค.ศ. 1975 เป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปขนาดกว้าง 1.2 เมตร สูง 3.6 เมตร จำนวนกว่า 45,000 แผ่นถูกต่อเป็นแนวรอบกรุงเบอร์ลินตะวันตกเชื่อมต่อด้วยท่อคอนกรีตที่ด้านบนกำแพง กำแพงรุ่นนี้ถูกใช้งานจนกระทั่งถึงการล่มสลายในปี ค.ศ. 1989 และเป็นกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่ถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ในการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่ 4 ใช้งบประมาณสูงถึงกว่า 1,650 ล้านมาร์ก ณ ขณะนั้นทีเดียวสำหรับประชาชนเยอรมันทั้งตะวันตก และตะวันออก และประชาคมโลกในระบบประชาธิปไตย กำแพงเบอร์ลิน เปรียบเสมือนการปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน ว่ากันว่า กำแพงเบอร์ลิน เป็นกำแพงแห่งเดียวในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปิดกั้นประชาชนในประเทศของตนจากโลกภายนอก ในขณะที่กำแพงเมืองอื่น ๆ ทั่วโลกนั้นมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูเข้ามารุกรานเสรีภาพของชาวเมือง ในทางกลับกัน สหภาพโซเวียต ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างกำแพงเบอร์ลิน กลับมองว่า กำแพงเบอร์ลิน คือนวัตกรรมของชนชาติ





กำแพงเบอร์ลินเริ่มสร้างเพื่อจำกัดการเข้าออกระหว่างเขตเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และตั้งอยู่เป็นระยะเวลา 28 ปี

ก่อนจะทลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กำแพงเบอร์ลินเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น


ในระหว่างที่กำแพงยังตั้งอยู่นั้น มีความพยายามหลบหนีข้ามเขตแดนราว 5,000 ครั้ง
มี 192 คนถูกฆ่าระหว่างการหลบหนี และอีกประมาณ 200 คนบาดเจ็บสาหัส ในช่วงแรกนั้น

การหลบหนีเป็นไปอย่างไม่ยากนัก เนื่องจากกำแพงในช่วงแรกเป็นเพียงรั้วลวดหนามเตี้ย ๆ

และบางส่วนก็กระโดดออกมาทางหน้าต่างของตึกที่อยู่ติดกับกำแพง แต่ไม่นานนักกำแพง
ก็เปลี่ยนเป็นคอนกรีตที่แน่นหนา ส่วนหน้าต่างตึกต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกำแพงก็ถูกก่ออิฐปิดตาย

การหลบหนีครั้งที่ไม่สำเร็จที่โด่งดังที่สุดก็คือ

เมื่อครั้งที่นายปีเตอร์ เฟตช์เตอร์ (Peter Fechter)
ถูกยิงและปล่อยให้เลือดไหลจนตายต่อหน้าสื่อมวลชนตะวันตก เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2505

(ค.ศ. 1962) ผู้หลบหนีรายสุดท้ายที่ถูกยิงตายคือนาย Chris Gueffroy
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)






ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 นาย Guumlnter Schabowski รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการ (Minister of Propaganda) ของเยอรมนีตะวันออกได้แถลงข่าว (ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของเขาเอง)

ว่าทางการจะอนุญาตให้ชาวเบอร์ลินตะวันออก ผ่านเข้าออกเขตแดนได้อย่างเสรีอีกครั้ง
ทันใดนั้นเอง ผู้คนนับหมื่นที่ได้ทราบข่าวก็ได้หลั่งไหลไปยังด่านต่าง ๆ ของกำแพง.

หลังจากความโกลาหลอยู่ช่วงหนึ่ง เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยังไม่ได้รับคำสั่งใด ๆ จากทางการ ในที่สุดเจ้าหน้าที่ก็ต้องยอมปล่อยให้ฝูงชนผ่านเขตแดนไปอย่างไม่มีทางเลือก ชาวเบอร์ลินตะวันตกออกมาต้อนรับชาวเบอร์ลินตะวันออก บรรยากาศในเช้ามืดวันนั้นเหมือนงานเฉลิมฉลอง ชาวเยอรมันจึงถือกันว่าวันนี้เป็นวันล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน





รูปแกะสลัก ชื่อ " ทุกข์ระทมที่กําแพง"
ตั้งอยู่ที่ เบอร์ลิน - ชเต็กลิทฺซ์ เมื่อปี ค.ศ.๑๙๖๕




สำหรับการทุบทำลายตัวกำแพงนั้น เริ่มเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2533
โดยคงเหลือกำแพงบางช่วงไว้เป็นอนุสรณ์ และในภายหลัง ซากกำแพงบางส่วน
ก็ถูกจำหน่ายเป็นของที่ระลึก ส่วนบางส่วนก็ถูกนำไปตั้งแสดงที่อื่นเพื่อเป็นอนุสรณ์
เช่นที่ด้านหน้าสภายุโรป ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม

การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินนั้น ได้เป็นขั้นตอนแรกของการรวมชาติเยอรมนีในที่สุด
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533 และได้ถือเอาวันนี้เป็นวันชาติของประเทศเยอรมนีใหม่










ประวัติกำแพงเบอร์ลิน กำเเพงแห่งสงครามเย็น


กำแพงเบอร์ลิน (เยอรมัน: Berliner Mauer) เป็นกำแพงที่สร้างขึ้นช่วงหลังเยอรมันพ่ายสงครามโลกครั้งที่สอง และถูกแบ่งเป็นสองประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นพรมแดนเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมันตะวันตก ออกจากเยอรมนีตะวันออกที่โอบล้อมอยู่โดยรอบ

มีความยาวทั้งสิ้น 155 กิโลเมตร เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และได้ทำหน้าที่ในการปิดกั้นพรมแดนนี้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนจะทลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532


ในเยอรมันตะวันออก กำแพงเบอร์ลิน คือ แนวเขตแดนที่มั่นคง และสัญลักษณ์ของการต่อต้านทุนนิยม

แต่สำหรับโลกเสรีแล้ว มันคือ สัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างระบบทุนนิยมของยุโรปตะวันตก ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา กับระบบคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต หรือที่เรียกกันว่าสงครามเย็น นั่นเอง กำแพงเบอร์ลิน ทำให้กรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก กลายเป็นเสมือน หน้าต่างสู่เสรีภาพ


นับตั้งแต่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน การข้ามผ่านแดนจากเยอรมันตะว้นออก ไปยังเยอรมันตะวันตก กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืนและถูกพบเห็น มีโทษสถานเดียว คือ การยิงทิ้ง ณ บริเวณกำแพงนั่นเอง ตลอดระยะเวลา 28 ปี


กำแพงเบอร์ลิน ถูกใช้งานเป็นเวลา 28 ปี ในช่วงเวลานี้ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบของกำแพงถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้งจะเพิ่มความแข็งแรง และความสูงของกำแพงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันการหลบหนีของชาวเยอรมันตะวันออก เนื่องจากกำแพงกันระหว่างเยอรมันตะวันออก และเยอรมันตะวันตก มีจุดเปราะบางที่สุดที่กรุงเบอร์ลินนี่เอง กำแพงเบอร์ลินทั้ง 4 รุ่นมีพัฒนาการดังนี้

กำแพงรุ่นที่ 1 เริ่มสร้างเมื่อวันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นแนวรั้วลวดหนาม เป็นการสร้างชั่วคราวเพื่อป้องกันการอพยพของประชาชน เป็นกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่มีอายุใช้งานสั้นที่สุด

กำแพงรุ่นที่ 2 เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ถูกสร้างขึ้นแทนกำแพงรั้วลวดหนามทันทีที่กำแพงรั้วลวดหนามเสร็จสมบูรณ์ แต่กำแพงก่ออิฐถือปูนนี้ก็ไม่แข็งแรงพอที่ปิดกั้นความปรารถนาในการแสวงหาเสรีภาพของประชาชน มีความพยายามในการหลบหนีด้วยการทำลายกำแพงเกิดขึ้นหลายครั้ง

กำแพงรุ่นที่ 3 เป็นรั้วคอนกรีตสำเร็จรูป ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และความสูงเพิ่มขึ้น

กำแพงรุ่นที่ 4 ถูกสร้างในปี ค.ศ. 1975 เป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปขนาดกว้าง 1.2 เมตร สูง 3.6 เมตร จำนวนกว่า 45,000 แผ่นถูกต่อเป็นแนวรอบกรุงเบอร์ลินตะวันตกเชื่อมต่อด้วยท่อคอนกรีตที่ด้านบนกำแพง กำแพงรุ่นนี้ถูกใช้งานจนกระทั่งถึงการล่มสลายในปี ค.ศ. 1989 และเป็นกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่ถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ในการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่ 4 ใช้งบประมาณสูงถึงกว่า 1,650 ล้านมาร์ก ณ ขณะนั้นทีเดียวสำหรับประชาชนเยอรมันทั้งตะวันตก และตะวันออก และประชาคมโลกในระบบประชาธิปไตย กำแพงเบอร์ลิน เปรียบเสมือนการปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน ว่ากันว่า กำแพงเบอร์ลิน เป็นกำแพงแห่งเดียวในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปิดกั้นประชาชนในประเทศของตนจากโลกภายนอก ในขณะที่กำแพงเมืองอื่น ๆ ทั่วโลกนั้นมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูเข้ามารุกรานเสรีภาพของชาวเมือง ในทางกลับกัน สหภาพโซเวียต ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างกำแพงเบอร์ลิน กลับมองว่า กำแพงเบอร์ลิน คือนวัตกรรมของชนชาติ





กำแพงเบอร์ลินเริ่มสร้างเพื่อจำกัดการเข้าออกระหว่างเขตเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และตั้งอยู่เป็นระยะเวลา 28 ปี

ก่อนจะทลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กำแพงเบอร์ลินเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น


ในระหว่างที่กำแพงยังตั้งอยู่นั้น มีความพยายามหลบหนีข้ามเขตแดนราว 5,000 ครั้ง
มี 192 คนถูกฆ่าระหว่างการหลบหนี และอีกประมาณ 200 คนบาดเจ็บสาหัส ในช่วงแรกนั้น

การหลบหนีเป็นไปอย่างไม่ยากนัก เนื่องจากกำแพงในช่วงแรกเป็นเพียงรั้วลวดหนามเตี้ย ๆ

และบางส่วนก็กระโดดออกมาทางหน้าต่างของตึกที่อยู่ติดกับกำแพง แต่ไม่นานนักกำแพง
ก็เปลี่ยนเป็นคอนกรีตที่แน่นหนา ส่วนหน้าต่างตึกต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกำแพงก็ถูกก่ออิฐปิดตาย

การหลบหนีครั้งที่ไม่สำเร็จที่โด่งดังที่สุดก็คือ

เมื่อครั้งที่นายปีเตอร์ เฟตช์เตอร์ (Peter Fechter)
ถูกยิงและปล่อยให้เลือดไหลจนตายต่อหน้าสื่อมวลชนตะวันตก เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2505

(ค.ศ. 1962) ผู้หลบหนีรายสุดท้ายที่ถูกยิงตายคือนาย Chris Gueffroy
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)






ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 นาย Guumlnter Schabowski รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการ (Minister of Propaganda) ของเยอรมนีตะวันออกได้แถลงข่าว (ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของเขาเอง)

ว่าทางการจะอนุญาตให้ชาวเบอร์ลินตะวันออก ผ่านเข้าออกเขตแดนได้อย่างเสรีอีกครั้ง
ทันใดนั้นเอง ผู้คนนับหมื่นที่ได้ทราบข่าวก็ได้หลั่งไหลไปยังด่านต่าง ๆ ของกำแพง.

หลังจากความโกลาหลอยู่ช่วงหนึ่ง เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยังไม่ได้รับคำสั่งใด ๆ จากทางการ ในที่สุดเจ้าหน้าที่ก็ต้องยอมปล่อยให้ฝูงชนผ่านเขตแดนไปอย่างไม่มีทางเลือก ชาวเบอร์ลินตะวันตกออกมาต้อนรับชาวเบอร์ลินตะวันออก บรรยากาศในเช้ามืดวันนั้นเหมือนงานเฉลิมฉลอง ชาวเยอรมันจึงถือกันว่าวันนี้เป็นวันล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน





รูปแกะสลัก ชื่อ " ทุกข์ระทมที่กําแพง"
ตั้งอยู่ที่ เบอร์ลิน - ชเต็กลิทฺซ์ เมื่อปี ค.ศ.๑๙๖๕




สำหรับการทุบทำลายตัวกำแพงนั้น เริ่มเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2533
โดยคงเหลือกำแพงบางช่วงไว้เป็นอนุสรณ์ และในภายหลัง ซากกำแพงบางส่วน
ก็ถูกจำหน่ายเป็นของที่ระลึก ส่วนบางส่วนก็ถูกนำไปตั้งแสดงที่อื่นเพื่อเป็นอนุสรณ์
เช่นที่ด้านหน้าสภายุโรป ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม

การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินนั้น ได้เป็นขั้นตอนแรกของการรวมชาติเยอรมนีในที่สุด
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533 และได้ถือเอาวันนี้เป็นวันชาติของประเทศเยอรมนีใหม่