วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มารู้จักอิสตันบลูกัน




อิสตันบูล (Istanbul)


คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ที่เป็นเมืองสำคัญของชนเผ่าจำนวนมากในบริเวณนั้ น จึงส่งผลให้อิสตันบลู มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปเช่น ไปแซนเทียม
สุดและเป็นเมื่องที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในตุรกี อิสตันบูล ตั้ง
• อิสตันบูล เป็นเมืองที่มีความสำคัญที่อยู่ริมช่องแค
บบอสฟอรัส (Bosphorus) เดิมชื่อว่า
คอนสแตนติโนเปิล สแตมโบล เป็นต้น
• อาณาเขต : ทิศเหนือจรดทะเลดำ (Black Sea ) ทิศตะวันออกติดกับโคจาเอลลี (Kocaeli )และทะเลมาร์มารา (Marmara) ฝั่งตะวันตกติดกับ เทคีร์ดาค์ ( Tekirdag ) และคีร์คลาเรลี (Kirklareli ) มีพื่นที่รวมเกาะมาร์มารา (Marmara Island ซึ่งได้สมญานามว่าเป็นเกาะเจ้าชาย Princess’Island 5,712 ตารางกิโลเมตร
อทวีปเอเชีย (ฝั่งอนาโตเลียน) และทวีปยุโรป (ฝั่ง Trace ของบอกฟอรัส) โดยทั้ง 2 ทวีป ถูกแบ่งออกจากกันโดยช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลามาร์มารา และช่องแคบ ดาร์ดาแนลส์
• อิสตันบลูเป็นเมืองเดียวของตุรกีที่มีพื้นที่อยู่ใน 2 ทวีปคือ ส่วนในยุโรปแบ่งออกเป็นอิสตันบลูเก่า และอิสตันบลูใหม่ โดยมีโกลเดนฮอร์นคันอยู่ (Golden Hornเป็นทะเลชายฝั่งรูปร่างเว้าเหมือนเขาสัตว์ เมื่อยามอาทิตย์อุทัยและอัสดงแสงจะอาบลำน้ำเป็นประกายระยิบระยับราวทองคำ ) เมืองที่ถูกแบ่งแล้วคือสตัมบลู (Stambul )ทางด้านใต้ และทางกาลาตา (Galata )กับเบโยหลุ (Beyoglu) ทางด้านเหนือ
• ภูมิอากาศ ได้รับอิทธิพลมาจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ฤดูหนาวจะไม่หนาวเย็นมาก แต่มีฝน ฤดูร้อน อากาศจะร้อนและแห้ง อุณหภูมิของกลางวันกลางคืนไม่ต่างกันมากนักเฉลี่ยแล้วหิมะตกประมาณ 7 วันต่อปี
• อิสตันบลูมีแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดไหลผ่านอิสตันบลูคือ แม่น้ำริวา (Riva) มีปลายทางที่ทะเลดำ และบังมีแม่น้ำอิสทินเย ( Istinye Deresi ) และบูยุค (Buyuk Menderes หรือที่ร็จักในชื่อ Maeander)ไหลลงสู่ช่องแคบบอสฟอรัส
• อิสตันบลูเป็นเมืองท่าพาณิชย์ที่สำคัญ มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 8,803,468 ล้านคน

• ประวัติความเป็นมาเมืองอิสตันบลู :
• หากร้อยเรียงประวัติศาสตร์ของอีสตันบูล ต้องเริ่มตั้งแต่เมืองไบแซนเทียม (Byzantium) ที่สร้างโดย ชาวกรีกเมื่อ 667 ปีก่อนคริสตกาล โดยตั้งชื่อตามกษัตริย์ Byzas เมืองไบแซนเทียมถูกครอบครองและทำลายโดยจักรวรรดิโรมัน เมื่อปี พ.ศ. 739 (ค.ศ. 196) จากนั้นโรมันได้สร้าง ไบแซนเทียมขึ้นมาใหม่อีกครั้งในยุคของจักรพรรดิเซ็ปติมัส เซเวอรัส
• หลังจากนั้นจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช แห่งจักรวรรดิโรมันได้ย้ายมาสร้างกรุงโรมใหม่ (Nova Roma) ที่ไบแซนเทียม แต่คนส่วนมากมักนิยมเรียกว่าเมือง "คอนสแตนติโนเปิล" มากกว่า ในภายหลังจักรวรรดิโรมันตะวันออกที่มีเมืองหลวงคือคอนสแตนติโนเปิล มักถูกเรียกว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปยุคนั้น หลังสงครามครูเสดครั้งที่ 4 คอนสแตนติโนเปิลถูกยึดและเผาทำลาย ก่อนจะถูกยึดกลับคืนได้ในภายหลัง
• หลังจากล่มสลายของกรุงโรมและจักรวรรดิโรมันตะวันตก คอนสแตนติโนเปิลกลายเป็นเมืองหลวงเพียง
แห่งเดียวของจักรวรรดิไบแซนไทน์ และเป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์นิกาย กรีกออเธอร์ด็อกซ์ โดยมีสิ่ง
ก่อสร้างขนาดใหญ่อย่างเช่น โบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย เป็นต้น
• กระทั่งถึงจักรวรรดิออตโตมัน ในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) สุลต่านเมห์เม็ดที่ 2 ได้บุกยึดกรุง
คอนสแตนติโนเปิล ตัวเมืองได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้งใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมแบบมุสลิม ชื่อของเมืองเปลี่ยนเป็นอิสตันบูล ในสมัยของจักรวรรดิออตโตมัน เมืองอิสตันบูลได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอย่างมาก
• การก้าวสู่สาธารณรัฐตุรกี เมื่อสาธารณรัฐตุรกีถูกก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) เมืองหลวงของประเทศย้ายจากอิสตันบูลไปที่เมืองอังการา นับระยะเวลาที่อิสตันบูลเป็นเมืองหลวงทั้งสิ้น 1,610 ปี
•.ในสมัยกษัตริย์คอนสแตนติน มีการก่อกำแพงเมืองล้อมเขา 7 ลูก เพราะพระองค์มีพระประสงค์จะสร้างเมืองบนภูเขา 7 ลูกให้เหมือนกรุงโรม เขา 6 ใน 7 ลูก อยู่ริมฝั่งโกลเดนฮอร์น ได้แก่
• เขาลูกที่ 1 เป็นที่ตั้งของพระราชวังทอปกาปิ (Topkapi Sarayi) และวิหารเซนต์โซเฟีย (Hagia Sophia Church หรือ St.Sophia Mosque)
• เขาลูกที่ 2 เป็นที่ตั้งของสุเหร่าเชมแบร์ลิทัส (Cemberlitas Camii) และนูรูโอส์มาเนีย (Nuruosmaniye Camii)
• เขาลูกที่ 3 เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยอิสตันบูล (Istanbul Universitesi หรือ Istanbul University) และสุเหร่าสุไลมานิเย (Suleymaniye Camii)
• เขาลูกที่ 4 เป็นที่ตั้งของสุเหร่าฟาทิห์ (Fatih Camii)
• เขาลูกที่ 5 เป็นที่ตั้งของสุเหร่าเซลิม (Sultan Selim Camii)
• เขาลูกที่ 6 เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เซนต์โครา (Kariye Muzesi หรือ Chora Church Museum) และประตูเอดีร์เน (Edirnekapi)
• เขาลูกที่ 7 เป็นที่ตั้งของสุเหร่าโคจามุสตาฟาพาซา (Koca Mustafa Pasa) และบริเวณโดยรอบ