วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ครบรอบ 172 ปี พอล เซซาน Paul Cézanne

เปิดมากูเกิลวันนี้ทำเอาตกใจอีกแล้วค่ะ กับภาพสวยๆ สะดุดตา ตรงโลโก้ของกูเกิล ซึ่งก็อดสงสัยไม่ได้ว่าวันนี้เป็นวันอะไร พอนำเมาส์ไปวางที่รูปจึงร้องอ้อขึ้นมาทันที่ว่าวันนี้กูเกิลขอรำลึกกับจิตกรมือเอก Paul Cézanne ที่วันนี้ครบรอบ 172 ปีPaul Cézanne หรือ พอล เซซาน จิตกรชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2382 ซึ่งพอล เซซานนั้นเป็นจิตรกรสมัยศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ตอนหลัง ของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน งานของเซซานเป็นงานที่เป็นการวางรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไปสู่ศิลปะบาศก์นิยม (Cubism) ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นแนวที่ทั้งอ็องรี มาติส และปาโบล ปีกัสโซ ยกย่องเซซานว่าเป็น “the father of us all”

“ภาพเหมือนตัวเอง” (ค.ศ. 1875) โดย พอล เซซาน

งานของเซซานแสดงถึงความเชี่ยวชาญทางการออกแบบ การวางองค์ประกอบ การใช้สี และการร่าง (draftsmanship) การแปรงซ้ำๆ ดูมีความอ่อนไหว นุ่มนวลและ exploratory ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่เป็นของเซซานโดยเฉพาะ เซซานจะใช้สีต่างๆ ฝีแปรงสั้น ๆ และค่อยสร้างขึ้นดูลึกลับซับซ้อน น่าค้นหา ซึ่งทั้งเป็นการแสดงออกของสิ่งที่เห็นด้วยตาและเป็นรูปทรงนามธรรมของธรรมชาติ

“มาดามเซซานในเรือนกระจก”(Madame Cezanne in the Greenhouse) ค.ศ. 1891-1892, พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน
“ภาพเหมือนพ่อของจิตรกรหลุยส์ เอากุส เซซานน์อ่านหนังสือ” (Portrait of the Artist's Father Louis-Auguste Cézanne, Reading) ค.ศ. 1866 พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา

“มงตาญแซ็งต์-วิกตัวร์”(Montagne Sainte-Victoire)ค.ศ. 1882-1885, พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตัน

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการจำ..ฝึกได้ง่ายๆ


รู้ไหมว่า...วัน ๆ หนึ่ง เราต้องใช้สมองจดจำอะไรบ้าง...
จำศัพท์ภาษาอังกฤษ จำ tense ตารางธาตุ ประวัติศาสตร์ อักษรสูง กลาง ต่ำ ชื่อเพื่อน หน้าเพื่อน จำเนื้อเพลง วันเกิดพ่อแม่พี่น้อง เบอร์โทรศัพท์ และจำ จำ จำ อีกหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะจำอะไรที่เป็นวิชาการ มันช่างจำได้ยากเย็นเต็มที ถึงแม้จะมีคำกล่าวว่า "การเรียนด้วยความเข้าใจนั้นดีที่สุด" แต่จะมีใครกล้าปฏิเสธมั๊ยล่ะว่าเราเรียนได้โดยไม่ต้องใช้การท่องจำ...
เทคนิคแรก โยงสิ่งที่ต้องจำไปหาสิ่งที่จำง่ายและติดตากว่า
เช่น ภาษาอังกฤษคำว่า "sue" แปลว่าฟ้องร้อง การออกเสียงคำว่า "sue" คล้ายกับคำว่า "สู้" ของไทย แต่การสู้ในที่นี้ เราต้องสู้กันในศาล เพราะฉะนั้นก็หมายความว่าฟ้องร้องนั่นเอง (สำหรับการท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ ขอแนะนำเพิ่มเติมว่าควรจะท่องกลุ่มคำที่มีความหมายเหมือนกัน จะได้จำไปคราวเดียว ไม่ต้องท่องหลายรอบ เช่น purpose-goal-aim-intention-objective)
เทคนิคที่สอง ใส่ทำนองร้องเป็นเพลง
ถ้าอยากจะจำอะไรสักอย่างหนึ่งยาว ๆ ลองใส่ทำนองเข้าไปแล้วลองร้องออกมา นอกจากจะสนุกสนานล้ว อาจจะจำได้ดีขึ้นด้วย แต่จะไพเราะเสนาะหูขนาดไหน อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะตัว
เทคนิคที่สาม วิธีจำโดยสังเกตตัวอักษรที่เหมือนกัน
ใช้ได้ผลดีกับวิชาภาษาไทย เช่น คำนวน ต้องเขียนว่า คำนวณ ใช้ "ณ" เหมือนคำว่า คณิตศาสตร์ หรือ เข้าฌาน สะกดด้วย "น" เพราะเป็นการนั่งแบบ "นิ่ง ๆ"
เทคนิคที่สี่ ประโยคเด็ดช่วยจำ
แต่งประโยคหรือเรียบเรียงเรื่องที่ต้องจำเป็นข้อความสั้น ๆ และถ้าสามารถ อาจแต่งให้คล้องจองกัน จะช่วยให้จำได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ประโยคยอดฮิตที่ว่า "ไก่ จิก เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง" ทำให้พวกเราจำอักษรกลางได้อย่างง่ายดาย
เทคนิคที่ห้า จำเป็นรูปภาพ
สมองคนเราจำรูปได้ดีกว่าข้อความ ดังนั้นพวกสูตรคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ลองเขียนเป็นตัวใหญ่ ๆ ทำให้โดดเด่นมีสีสัน แปะไว้ข้างฝาบ้าน มองทุกวัน หลาย ๆวัน เราจะจำภาพหรือสูตรนั้นได้โดยอัตโนมัติ ที่สำคัญอย่าลืมมองเจ้าสิ่งที่แปะบ่อย ๆ ด้วย
เทคนิคการจำก็เป็นความสามารถเฉพาะตัวเหมือนกัน ต้องมีการฝึกฝนและพลิกแพลงให้เข้ากับสถานการณ์ การจำเรื่องยาก ๆ อาจต้องใช้หลายเทคนิคหรือเทคนิคขั้นสูงต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : วารสารกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษษ ฉบับเดือนมากราคม - มีนาคม 2553